เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 19. ธัมมนานัตตญาณนิทเทส
19. ธัมมนานัตตญาณนิทเทส
แสดงธัมมนานัตตญาณ
[73] ปัญญาในการกำหนดธรรม 9 ชื่อว่าธัมมนานัตตญาณ เป็นอย่างไร
พระโยคาวจรกำหนดธรรมทั้งหลาย อย่างไร
คือ พระโยคาวจรกำหนดกามาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอกุศล เป็น
ฝ่ายอัพยากฤต กำหนดรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต กำหนด
อรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต กำหนดอปริยาปันนธรรมเป็น
ฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต
พระโยคาวจรกำหนดกามาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอกุศล เป็นฝ่าย
อัพยากฤต อย่างไร
คือ พระโยคาวจรกำหนดกุศลกรรมบถ 101 เป็นฝ่ายกุศล กำหนดอกุศล-
กรรมบถ 102 เป็นฝ่ายอกุศล กำหนดรูป วิบาก และกิริยาเป็นฝ่ายอัพยากฤต
พระโยคาวจรกำหนดกามาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอกุศล เป็นฝ่าย
อัพยากฤตอย่างนี้
พระโยคาวจรกําหนดรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างไร
คือ พระโยคาวจรกำหนดฌาน 4 ของบุคคลผู้ยังอยู่ในโลกนี้ เป็นฝ่ายกุศล
กำหนดฌาน 4 ของบุคคลผู้เกิดในพรหมโลกเป็นฝ่ายอัพยากฤต พระโยคาวจร
กำหนดรูปาวจรธรรม เป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤตอย่างนี้
พระโยคาวจรกำหนดอรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างไร
คือ พระโยคาวจรกำหนดอรูปาวจรสมาบัติ 4 ของบุคคลผู้ยังอยู่ในโลกนี้
เป็นฝ่ายกุศล กำหนดอรูปาวจรสมาบัติ 4 ของบุคคลผู้เกิดในพรหมโลกนั้น เป็น

เชิงอรรถ :
1 กุศลกรรมบถ 10 ได้แก่ กายสุจริต 3 วจีสุจริต 4 และมโนสุจริต 3 (ขุ.ป.อ. 1/73/317)
2 อกุศลกรรมบถ 10 ได้แก่ กายทุจริต 3 วจีทุจริต 4 และมโนทุจริต 3 (ขุ.ป.อ. 1/73/317)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :123 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 19. ธัมมนานัตตญาณนิทเทส
ฝ่ายอัพยากฤต พระโยคาวจรกำหนดอรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่าย
อัพยากฤตอย่างนี้
พระโยคาวจรกำหนดอปริยาปันนธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต
อย่างไร
คือ พระโยคาวจรกำหนดอริยมรรค 4 เป็นฝ่ายกุศล กำหนดอปริยาปันน-
ธรรมเป็นฝ่ายกุศล กำหนดสามัญญผลและนิพพานเป็นฝ่ายอัพยากฤตอย่างนี้
พระโยคาวจรกำหนดธรรมทั้งหลายอย่างนี้
ธรรม 9 ประการ มีปราโมทย์เป็นมูล เมื่อพระโยคาวจรมนสิการโดย
ความไม่เที่ยง ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อมีปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อม
สงบ ผู้มีกายสงบย่อมเสวยสุข เมื่อมีความสุข จิตย่อมเป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิ
ย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง เมื่อรู้ เมื่อเห็นตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่าย
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น เมื่อมนสิการ
โดยความเป็นทุกข์ ปราโมทย์ย่อมเกิด ฯลฯ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา
ปราโมทย์ย่อมเกิด ฯลฯ
เมื่อพระโยคาวจรมนสิการรูปโดยความไม่เที่ยง ปราโมทย์ย่อมเกิด ฯลฯ เมื่อ
มนสิการรูปโดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ เมื่อมนสิการรูปโดยความเป็นอนัตตา ฯลฯ
เมื่อพระโยคาวจรมนสิการเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ
ฯลฯ จักขุ ฯลฯ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยความไม่เที่ยง ปราโมทย์ย่อมเกิด
ฯลฯ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยความเป็นทุกข์ ปราโมทย์ย่อมเกิด ฯลฯ
เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยความเป็นอนัตตา ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อมีปราโมทย์
ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมเสวยสุข เมื่อมีความสุข
จิตย่อมเป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิ ย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง เมื่อรู้ เมื่อ
เห็นตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่าย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะ
คลายกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น
นี้คือธรรม 9 ประการ มีปราโมทย์เป็นมูล


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :124 }